วิชาเอกของฉันคือนาฏศิลป์ไทย(ละครพระ)
ฉันจึงยิบยกประเภทต่างๆของละครมาเพราะบ้างคนกรอาจไม่เข้าใจในด้านทฤษฏี
เรามาดูกันเลยดีกว่าว่าละครหมายถึงอะไร ละครเป็นแสดงประเภทหนึ่งซึ่งแสดงเรื่องราวความเป็นไปของชีวิตที่ปรากฏในวรรณกรรม มีศิลปะการแสดงและดนตรีเป็นสื่อสำคัญ ละคร ตามความหมายนี้หมายถึงละครรำ
เพราะว่าเป็นการแสดงออกทางความคิดโดยมุ่งเน้นถึงลักษณะท่าทางอิริยาบถในขณะเคลื่อนไหวตัวในระหว่างการรำ
2.
ละครร้อง คือละครที่ใช้ศิลปะการร้องดำเนินเรื่อง
เป็นละครแบบใหม่ที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
คือ
3.
ละครพูด คือละครที่ใช้ศิลปะการพูดในการดำเนินเรื่อง เป็นละครแบบใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก แบ่งได้เป็น
2 ประเภท
คือ
นอกจากนั้นยังมีการแสดงที่เกิดขึ้นใหม่ในสมัย
รัชกาลที่ 5 อีก 2 อย่างคือ ลิเก และหุ่น ( หุ่นเล็ก , หุ่นกระบอก
, หุ่นละครเล็ก)
ละครนอก มีการดำเนินท้องเรื่องที่รวดเร็ว กระชับ สนุก การแสดงมีชีวิตชีวา ส่วนมากใช้ผู้ชายแสดง และมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เข้าใจว่าละครนอกมีวิวัฒนาการมาจากละครชาตรี
เพราะมุ่งที่จะให้คนดูเกิดความขบขัน ผู้แสดงละครนอกแต่เดิมมีผู้แสดงอยู่เพียง
2-3 คน เช่นเดียวกับละครชาตรี ละครนอกไม่คำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับยศศักดิ์และฐานะของตัวละครแต่อย่างใด ตัวละครที่เป็นท้าวพระยามหากษัตริย์ก็สามารถโต้ตอบตลกกับเสนากำนัลหรือไพร่พลได้ ละครนอกที่นิยมเล่นได้แก่เรื่อง
สังข์ทอง ไกรทอง สุวรรณหงส์ พระอภัยมณี เป็นต้น
จากรูปแบบของละครนอกที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นตัวละครในวัง ผู้แสดงหญิงล้วน แบบอย่างละครในนี้ได้สงวนไว้เฉพาะในวังหลวงเท่านั้น เพราะว่าผู้ชายนั้นจะถูกห้ามให้เข้าไปในพระราชฐานชั้นใน บริเวณตำหนักของพระมหากษัตริย์ ซึ่งจะประกอบไปด้วยดนตรีที่มีเสียงไพเราะอ่อนหวาน ใช้บทร้อยกรองได้อย่างวิจิตรบรรจง ทั้งดนตรีที่นำมาผสมผสานอย่างไพเราะ รวมทั้งจะมีท่าทางสง่างาม ไม่มีการสอดแทรกหยาบโลนหรือตลก และอนุรักษ์วัฒนธรรมและคุณลักษณะที่เป็นประเพณีสืบทอดกันมา
เรื่องที่ใช้แสดงละครในนั้นมีอยู่
4 เรื่อง ได้แก่ รามเกียรติ์ อุณรุท อิเหนา และดาหลัง เข้าใจกันว่าละครในสมัยเริ่มแรกเล่นกันแต่เรื่องรามเกียรติ์
และอุณรุทเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นเรื่องเกียวกับนารายณ์อวตาร ใช้สำหรับเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ ผู้อื่นจึงไม่สามารถนำไปเล่นได้ ต่อมาละครในไม่ค่อยได้เล่น
2 เรื่องนี้ เหลือแต่โขนและหนังใหญ่ที่เล่นเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนเรื่องดาหลังไม่ค่อยนิยมแสดงนัก เพราะชื่อตัวละครเรียกยาก จำยาก เนื้อเรื่องก็สับสนไม่สนุกสนานเท่าเรื่องอิเหนา ต่อมาพวกละครนอกและลิเกจึงนำไปแสดงบ้าง ดังนั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาขึ้นใหม่ ละครในจึงนิยมแสดงอยู่เพียงเรื่องเดียวนาน
ๆ จึงจะมีผู้จัดแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุทสักครั้งหนึ่ง
บทละครในเป็นกลอนบทละครที่ผู้แต่งใช้ความประณีตบรรจงในการเลือกเฟ้นถ้อยคำมาร้อยกรองอย่างไพเราะและมีความหมายดี เพื่ออวดฝีมือในการแต่งแต่งด้วย ทั้งนี้เนื่องจากละครในเล่นกันอยู่ไม่กี่ตอน คนดูมักรู้เรื่องดีอยู่แล้ว ผู้แต่งจึงมุ่งพรรณนาเนื้อความในรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน ดังจะเห็นได้จากบทชมธรรมชาติ ชมพาหนะ ชมเครื่องแต่งตัว บทพรรณนาความรู้สึก ซึ่งปรากฏอยู่ตลอดเรื่อง บทละครในที่แต่งได้ดีเยี่ยมได้แก่เรื่องนามเกียรติ์และอิเหนา ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
การแสดงละครในมุ่งที่ความประณีตสวยงามเป็นหลัก ทั้งศิลปะการรำที่มีลีลาท่าทางงดงาม นุ่มนวล เครื่องแต่งกายสวยประณีต ดนตรีและเพลงที่ไพเราะ ผู้ชมละครในไม่มุ่งความสนุกสนานตื่นเต้นเหมือนดูละครนอก แต่จะมุ่งดูศิลปะการร่ายรำ ลีลาท่าทางที่ประณีตงดงามและเพลงที่ไพเราะมากกว่าละครในที่นิยมกันมากที่สุด
คือ อิเหนา
ละครเสภา
คือละครที่มีลักษณะการแสดงคล้ายละครนอก รวมทั้งเพลงร้องนำ ทำนองดนตรี และการแต่งกายของตัวละคร แต่มีข้อบังคับอยู่อย่างหนึ่งคือต้องมีขับเสภาแทรกอยู่ด้วยจึงจะเป็นละครเสภา
ก่อนที่จะเกิดละครเสภาขึ้นนั้น เข้าใจว่าจะมีการขับเสภาเป็นเรื่องราวก่อน เรื่องที่นาขับเสภาและนิยมกันอย่างแพร่หลายคือ เรื่องขุนช้างขุนแผน การขับเสภาตั้งแต่โบราณนั้นไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใดประกอบ นอกจากกรับที่ผู้ขับขยับประกอบแทรกในทำนองขับของตนเท่านั้น ครั้นเวลาต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งทรงโปรดสดับการขับเสภาได้โปรดเกล้าฯ
ให้จัดวงปี่พาทย์เข้าประกอบเป็นอุปกรณ์ขับเสภา โดยให้แทรกเพลงร้องส่งให้ปี่พาทย์รับและบรรเลงเพลงหน้าพาทย์เหมือนอย่างการแสดงละครนอก ตอนใดดำเนินเรื่องก็ขับเสภา ตอนใดเป็นถ้อยคำรำพันหรือข้อความอื่นที่ควรแก่การร้องส่งก็ร้อง จะเป็นเพลงช้าปี่หรือโอ้ปี่อย่างละครนอกก็ได้ ตอนใดเป็นบทไปมาหรือรบกัน ปี่พาทย์ก็บรรเลงเพลงเชิดประกอบ ต่อมาได้วิวัฒนาการให้มีผู้แสดงออกมาแสดงตามบทเสภาและบทร้อง ครั้งแรกก็อาจจะเป็นเพียงตอนใดตอนหนึ่ง ครั้นต่อมาก็เลยปรับปรุงให้เป็นการแสดงทั้งหมด และเรียกการแสดงนี้ว่า “เสภา”
ละครเสภาที่นิยมเล่นกันมาก
คือ ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายเพชรพลายบัวออกศึก ,พระวัยแตกทัพ
,ขุนแผนเข้าห้องนางแก้วกิริยา
เป็นต้น